วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน

4. การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน
การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. แบบสำเร็จรูป (Packaged or ready-made software) เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามรถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านทางร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านระบบแบบฟอร์มบนเว็บ เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลดเอาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ทันที
2. แบบว่าจ้างทำ (Customized or tailor-made software) เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีลักษณะงานเฉพาะของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการผลิตซอฟแวร์ขึ้นมาใช้เอง โดยให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำการผลิตซอฟแวร์ใหเตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ วิธีการนี้อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบสำเร็จรูปพอสมควร แต่การทำงานของซอฟต์แวร์จะสอดคล้องตรงกับความต้องการได้ดีที่สุด
3. แบบทดลองใช้ (Shareware) เป็นวิธีที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้ผลิตโปรแกรมที่ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อน โดยมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งาน เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน ใช้ภายใน 90 วัน เป็นต้น หากผู้ใช้ทดลองใช้แล้วตัดสินใจว่าดี ตลอดจนเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปแบบต็มๆจากบริษัทผู้ผลิตต่อไป
4. แบบทดลองใช้งานฟรี (Freeware) เป็นโปรแกรมที่แจกให้ใช้ฟรี เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่เป้าหมายของผู้ผลิตคือ ต้องการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และทดสอบระบบที่พัฒนาขึ้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของบริษัทผู้ผลิตอยู่ ผู้อื่นไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
5. แบบโอเพนซอร์ซ (Open source) เป็นวิธีการขององค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานได้ฟรี รวมทั้งสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานของตนได้

มุมเทคโนโลยี
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
                สิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น ได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่ารูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีการใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำ
                ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ได้ทำขึ้นรวมทั้งอนุญาตให้ใช้งานซอฟแวร์นั้นๆ โดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์ซนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟแวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง
                ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูง ปัญหานี้ส่งผลเสียต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ โดยสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ ได้แก่ ซีดีเพลง (ซีดีรวมไฟล์เพลงประเภท MP3) วีซีดี และดีวีดีภาพยนตร์ เกม รวมถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์ สำหรับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้พัฒนาคู่มือ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท โดยได้อธิบายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำหน่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรี โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท รวมถึงสิทธิในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันจะเป็นการลดความเสี่ยงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คู่มือสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบพื้นฐานทั่วไป

 คู่มือสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบพื้นฐานทั่วไป
 จัดทำโดย

                  1.นายธิติพัฒน์  สือสกุล             เลขที่ 1
                  2.นางสาวธนิตา ศรีน้อย             เลขที่ 6
                  3.นางสาววิมลนาฎ  วชิรญานนท์  เลขที่ 8
                  4.นายอำนาจ  วีรสกุลกานต์        เลขที่  29


        นำเสนอ


    อาจารย์พรรณสุภา พ่อธานี

   โรงเรียนถาวรานุกูล




     สำหรับการใช้งานที่เน้นการทำงานพื้นฐานทั่วไปส่วนมากจะใช้งานเพื่อสร้างเอกสาร รายงานงานในสำนักงานต่างๆรวมถึงการเล่นอินเตอร์เน็ตซึ่งไม่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีสูงนัก สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ควรเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเน้น คุณลักษณะของเครื่องสูง มีราคาย่อมเยา
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Celeron D, Pentium 4, Pentium D หรือ  AMD Sempron , AMD Athlon 64X2
แรม
ประเภท DDR2-SDRAM ขนาด 512 MB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
เลือก ประเภทที่มีชิปแสดงผล ชิปเสียง และชิบเน็ตเวิร์คมาด้วย เพิ่มไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มอีก เนื่องจากติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดแล้ว และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA- ขนาดบรรจุ 160 GB เป็นต้นไป ซึ่วเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ใช้แบบ On Board
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100Mbps หรือ อาจสูงถึง 1 Gbpsก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage
ไดว์ฟDVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐ โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)










































บิล เกตส์ (Bill Gates)



 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (William Henry Gastes ที่ 3) หรือที่รู้จักกันในนามของ บิล เกตส์ เกิดวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1955 ผู้คนยกย่องให้เขาเป็นราชาแห่งอาณาจักรโลกคอมพิวเตอร์ในศตวรรษที่ 20-21เนื่องจากตอนที่เขาเรียนมหาวิทยาลัยได้เพียง ปี เขาและเพื่อนคือ พอล แอลเลน (PAUL ALLEN) ได้ออกมาก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ พร้อมกับสร้างระบบปฏิบัติการดอส (DOS) และพัฒนาไปสู่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) รวมทั้งเว็บบราวเซอร์อย่าง IE หรือ Internet Explorer จนประสบความสำเร็จอย่างมาก กลายเป็นบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดผู้ใช้มากที่สุดในโลก จนทำให้นิตยสารฟอบส์ จัดอันดับให้เขาเป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกติดต่อกันนานหลายปี 
 
      สตีฟ จ๊อบ (steve job)


 มาที่คนแรกคือ สตีฟ จ๊อบส์ เขาคือบุคคลคนสำคัญอีกคนหนึ่ง ที่สาวกไอโฟนยกย่องให้เขาเป็น ศาสดาแห่งโลกไอที เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1955 บทบาทในวงการไอทีของเขาเริ่มจากการร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) ร่วมกับ สตีเฟน วอซนิแอค (Stephen Wozniak) และได้สร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิล 2 (Apple II) ขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นด้วยการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เม้าส์ ซึ่งมีการใช้ครั้งแรกที่บริษัทซีร็อกซ์พาร์ค(Xerox PAR)แต่สุดท้ายแล้วเขาก็กลับมาที่บริษัทแอปเปิลอีกครั้ง ก่อนจะรับหน้าที่ CEO ในปี ค.ศ. 1997 ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ เขาได้กอบกู้ให้บริษัทแอบเปิลกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากทรุดตัวลงไปมาก โดยในปี ค.ศ. 1998 เขาได้เปิดตัว iMac คอมพิวเตอร์ใสมองทะลุได้ สร้างความแปลกใหม่ในวงการไอที เท่านั้นยังไม่พอ ในปี ค.ศ. 2007 เขาได้เปิดตัว iPhone โทรศัพท์ที่รวมเอาอินเทอร์เน็ตมาไว้ในเครื่องเดียวและสามารถใช้นิ้วสัมผัสหน้าจอใช้งานได้จริง ถือเป็นการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์วงการโทรศัพท์มือถือไปตลอดกาล ก่อนจะมีสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างรายได้มหาศาลออกมาเรื่อย ๆ เช่น iPad  ที่ใช้คู่กับ iPhone iTunes เป็นต้น แต่เขาก็มีชีวิตอยู่พัฒนาได้ถึงแค่เพียง iPhon 4s เท่านั้น เพราะเขาได้เสียชีวิตลงในวันที่ ตุลาคม ค.ศ. 2011ด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ในวัย 56 ปี โดยมีทิม คุก (Tim Cook)


 ทิม เบอร์เนอร์ส (Tim Berners-Lee หรือ TBT) 



 คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ www) พื้นที่สำหรับข้อมูลของคนทั่วโลกที่เข้าถึงได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต สงสัยกันไหมว่ามันมาจากไหน ?ซึ่งผู้ที่คิดค้นมันขึ้นมาก็คือ ทิม เบอร์เนอร์ส- ลี คนนี้เอทิม เบอร์เนอร์ส-ลี เกิดเมื่อวันที่ มิถุนายน 1955 เป็นผู้ก่อตั้งเทคโนโลยี  World wide web (www) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดระเบียบข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตไว้เป็นหมวดหมู่ โดยเริ่มแรกเขาได้เห็นข้อมูลที่ไม่เป็นระเบียบในฐานข้อมูลต่าง ๆ จึงเขียนโปรแกรม เอ็นไควร์ (ENQUIRE) ไว้ในคอมพิวเตอร์ของเขาเอง และในปี 1989 เขาได้เสนอโครงการที่จะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมด คือระบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) เพื่อให้คนทั่วโลกแบ่งปันและเชื่อมโยงข้อมูลทุกรูปแบบได้บนอินเทอร์เน็ต จากเดิมผู้ที่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มีเพียงแค่ผู้เชี่ยวชาทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น  และในปี 1990 เขาได้สร้างภาษา โปรแกรม และโปรโตคอล (protocol) ขึ้น สำหรับโครงการที่เขาตั้งชื่อว่า เวิล์ดไวด์เว็บ ก็เพื่อให้คนทั่วโลกได้เข้าถึง    ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก



วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2558

พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2558
1. หน้า ๗ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า ข้อมูลการบริหารสิทธิ” “มาตรการทางเทคโนโลยีและ การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีระหว่างบทนิยามคําว่า การโฆษณาและ พนักงานเจ้าหน้าที่ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “ “ข้อมูลการบริหารสิทธิหมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัส แทนข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง มาตรการทางเทคโนโลยีหมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือ ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงาน อันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
2. หน้า ๘ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีหมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้ มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผลมาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ และมาตรา ๓๒/๓ แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๓๒/๑ การจําหน่ายต้นฉบับหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในต้นฉบับ หรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา ๓๒/๒ การกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ทําหรือได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีลักษณะเป็นการทําซ้ําที่จําเป็นต้องมีสําหรับการนําสําเนามาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือกระบวนการส่งงานอันมีลิขสิทธิ์ทางระบบคอมพิวเตอร์ทํางานได้ตามปกติ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา ๓๒/๓ ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ของ ผู้ให้บริการ เจ้าของลิขสิทธิ์อาจยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อมีคําสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ให้บริการ หมายความว่า (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ ของบุคคลอื่น (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น คําร้องตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายละเอียดโดยชัดแจ้งซึ่งข้อมูล หลักฐานและคําขอบังคับ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ให้บริการ (๒) งานอันมีลิขสิทธิ์ที่อ้างว่าถูกละเมิดลิขสิทธิ์ (๓) งานที่อ้างว่าได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ (๔) กระบวนการสืบทราบ วันและเวลาที่พบการกระทํา และการกระทําหรือพฤติการณ์ ตลอดทั้ง หลักฐานเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ (๕) ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (๖) คําขอบังคับให้ผู้ให้บริการนํางานที่ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของ ผู้ให้บริการ หรือระงับการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยวิธีอื่นใด เมื่อศาลได้รับคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลทําการไต่สวน หากศาลเห็นว่าคําร้องมีรายละเอียด ครบถ้วนตามวรรคสาม และมีเหตุจําเป็นที่ศาลสมควรจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องนั้น ให้ศาลมีคําสั่งให้ ผู้ให้บริการระงับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือนํางานที่อ้างว่าได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการตามระยะเวลาที่ศาลกําหนด โดยคําสั่งศาลให้บังคับผู้ให้บริการ ได้ทันที แล้วแจ้งคําสั่งนั้นให้ผู้ให้บริการทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ดําเนินคดี ต่อผู้กระทําละเมิดลิขสิทธิ์ภายในระยะเวลาที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือนํางานที่อ้างว่าได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์
3. หน้า ๙ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ในกรณีที่ผู้ให้บริการมิใช่ผู้ควบคุม ริเริ่ม หรือสั่งการให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการนั้นได้ดําเนินการตามคําสั่งศาลตามวรรคสี่แล้ว ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิด เกี่ยวกับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคําสั่งและหลังจากคําสั่งศาลเป็นอัน สิ้นผลแล้ว ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามคําสั่งศาลตามวรรคสี่มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๕๑/๑ นักแสดงย่อมมีสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นนักแสดงในการแสดงของตน และมีสิทธิ ห้ามผู้รับโอนสิทธิของนักแสดงหรือบุคคลอื่นใดบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือทําโดยประการอื่นใด แก่การแสดงนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือเกียรติคุณของนักแสดง และเมื่อนักแสดงถึงแก่ความตาย ทายาทของนักแสดงมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษรมาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน มาตรา ๕๓ ให้นํามาตรา ๓๒ มาตรา ๓๒/๒ มาตรา ๓๒/๓ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับแก่สิทธิของนักแสดงโดยอนุโลมมาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๑ ข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๑ มาตรา ๕๓/๒ มาตรา ๕๓/๓ มาตรา ๕๓/๔ และมาตรา ๕๓/๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ หมวด ๒/๑ ข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๑ การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทํานั้น อาจจูงใจให้เกิด ก่อให้เกิด ให้ความสะดวก หรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ให้ถือว่าเป็น การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ มาตรา ๕๓/๒ ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่างานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นได้มีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลการบริหารสิทธิ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิด้วย ถ้าได้กระทําการอย่างใด อย่างหนึ่งแก่งานนั้นดังต่อไปนี้ (๑) นําหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจําหน่าย (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน มาตรา ๕๓/๓ การกระทําใด ๆ ดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
4. หน้า ๑๐ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ (๑) การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การอันจําเป็นในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือวัตถุประสงค์อื่นในทํานองเดียวกัน (๒) การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพสาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร (๓) การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ สาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร ลักษณะของข้อมูลการบริหารสิทธิตาม (๒) และงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการลบหรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิตาม (๓) ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๓/๔ การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีหรือการให้บริการเพื่อก่อให้เกิดการหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทํานั้นอาจจูงใจหรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิ ของนักแสดง ให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๕ การกระทําตามมาตรา ๕๓/๔ ในกรณีดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการ ทางเทคโนโลยี (๑) การกระทํานั้นจําเป็นสําหรับการกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (๒) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่จําเป็นของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการใช้งานร่วมกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น (๓) เพื่อประโยชน์แห่งการวิจัย วิเคราะห์ และหาข้อบกพร่องของเทคโนโลยีการเข้ารหัส โดยผู้กระทําต้องได้มาซึ่งงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายและได้ใช้ความพยายาม โดยสุจริตในการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว (๔) เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการทดสอบ ตรวจสอบ หรือแก้ไขระบบความมั่นคงปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ ของระบบคอมพิวเตอร์ หรือของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วแต่กรณี (๕) เพื่อระงับการทํางานของมาตรการทางเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวกับการรวบรวมหรือกระจาย ข้อมูลบ่งชี้ส่วนบุคคลที่สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตของผู้ที่เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยการกระทํานั้นต้องไม่กระทบต่อการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยบุคคลอื่น (๖) การกระทําโดยเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การอันจําเป็นในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือวัตถุประสงค์อื่นในทํานองเดียวกัน (๗) การกระทําโดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ สาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร เพื่อเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยวิธีอื่น
5. หน้า ๑๑ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ มาตรา ๘ ให้ยกเลิกชื่อหมวด ๖ คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน หมวด ๖ คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิของนักแสดง ข้อมูลการบริหารสิทธิ และมาตรการทางเทคโนโลยีมาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นการกระทํา โดยจงใจหรือมีเจตนาเป็นเหตุให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชน ได้อย่างแพร่หลาย ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ตามวรรคหนึ่งมาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๖๕/๑ ให้นํามาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดี เกี่ยวกับข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยีโดยอนุโลมมาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๐/๑ ผู้ใดกระทําการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิตามมาตรา ๕๓/๑ หรือมาตรา ๕๓/๒ หรือละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีตามมาตรา ๕๓/๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําเพื่อการค้า ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับมาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน มาตรา ๗๕ บรรดาสิ่งที่ได้ทําขึ้นหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง และสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจสั่งให้ทําให้สิ่งนั้นใช้ไม่ได้หรือจะสั่งทําลายสิ่งนั้นก็ได้ โดยให้ผู้กระทํา ละเมิดเสียค่าใช้จ่ายในการนั้นมาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน มาตรา ๗๗ ความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๐/๑ วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอํานาจเปรียบเทียบได้
6. หน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ มาตรา ๑๔ บรรดาคดีละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่มีการฟ้องคดีอาญาไว้ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ถึงที่สุด ให้นํามาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับสิ่งที่ได้ทําขึ้นหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

7. หน้า ๑๓ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีการนําข้อมูลการบริหารสิทธิ และมาตรการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง สมควรกําหนดให้มี การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี รวมทั้งกําหนดข้อยกเว้นการกระทําละเมิดลิขสิทธิ์ และสิทธิของนักแสดงเพิ่มขึ้น อีกทั้งสมควรกําหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ผู้กระทําละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ที่ทําให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย ต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้น และสมควรกําหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งริบหรือสั่งทําลายสิ่งที่ใช้ในการกระทําความผิดและสิ่งที่ได้ทําขึ้นหรือนําเข้ามา ในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้ด้วย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้